ระบบ Solar Air และ ระบบ Solar Rooftop ความคุ้มค่าขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ของแต่ละที่ดังนี้
ระบบ Solar Air DC Inverterมีการต่อตรง กับแผง DC to DC ไม่ผ่าน Inverter จึงไม่เกิดการสูญเสียพลังงานระหว่างแปลงไฟ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจ่ายเฉพาะแอร์ตัวนั้น
ระบบSolar Rooftop (On grid) ติดตั้งโดยมีตัว Inverter แปลงไฟ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจ่ายไปทุกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดอยู่ขณะนั้น
ดังนั้นถ้าหาก บ้าน หรือ สนง. ที่มีการใช้แอร์มากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น การติดตั้ง Solar Air จะเป็นการประหยัดไฟคุ้มกว่า
แต่หากมีความจำเป็นต้องการใช้ไฟฟ้ายังอุปกรณ์ อื่นๆด้วย การติดแบบ Solar Rooftop (On grid) ก็จะตรงกับความต้องการมากกว่า
ทั้งนี้ ต้นทุนการติดตั้งส่วนของแอร์ DC สูงกว่า เพราะรวมระบบSolar หากต้องติดตั้งSolar Air หลายๆเครื่องแล้วละก็ ควรให้บริษัทฯ คำนวนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบทั้ง สองระบบก่อนตัดสินใจ
บริษัทฯ Innospire Co.,Ltd. เป็นตัวแทนจำหน่าย อย่างเป็นทางการจาก บริษัท แอร์ AMEANA และ TASAKI ซึ่งผลิตในประเทศไทย ผ่านการรับรองมาตรฐาน อุตสาหกรรม, ประหยัดไฟเบอร์ 5, Made in Thailand
ชนิดแอร์มี ตั้งแต่ ติดผนัง, แขวนฝ้า/ตั้งพื้น, สี่ทิศทาง (Cassette) และ แบบฝังฝ้า
ขนาดแอร์ มีตั้งแต่ 9,000 BTU- 60,000 BTU
ระบบไฟฟ้า มี V/Ph/Hz : 220 /1/50 Vและ 380/3/50
โปรดติดต่อบริษัทฯ เพื่อคำนวนพื้นที่และแนะนำรุ่นที่เหมาะสม
การคำนวนจุดตุ้มทุนของการติดตั้ง Solar การคืนทุนช้าเร็วเราใช้ ค่า SEER (ประสิทธิภาพพลังงาน) ของแอร์เป็นตัวที่จะนำมาคำนวนร่วม การคำนวนเปรียบเทียบสามารถคำนวนตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่ เช่น ซื้อแอร์ใหม่ หรือ การเปลี่ยนแอร์ ก็จะเทียบระหว่างรุ่นเก่าที่ใช้ กับรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนเอามาเทียบกัน หรือจะเปรียบเทียบระหว่างระบบที่ต่างกัน เช่นระหว่างติด Solar Rooftop, Solar Air Hybrid VRF และ Solar Air Hybrid เป็นต้น โดยทั่วไปจุดคุ้มทุนของระบบ Solar Air จะอยู่ที่ 2.5-3.5 ปีแล้วแต่รุ่นแอร์
ยกตัวอย่างการคำนวน การเปลี่ยนแอร์ระหว่างแอร์เก่าที่เป็นระบบ Fix Speed 33,000 BTU เป็น แอร์ Solar DC Inverter รุ่น 36,000 BTU (การเลือกใช้ 36,000 BTU แทน 33,000 BTU เพราะ พื้นที่ของโรงงานมีการรับ Load ความร้อนที่สูงขึ้นเนื่องจากมีอุปกรณ์การผลิตในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น)
การคำนวน
รายละเอียด | ์ตัวเลขคำนวน | |
1 | ราคา Air 36000 x 3 set พร้อมติดตั้งระบบ | 570,000 B. |
2 | ค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศเดิม | |
2.1 | 33,000 BTU/Hr x 3 set | 99,000 BTU/Hr |
2.2 | เครื่องเก่าอายุใช้งาน> 10 ปี(Fix Speed )ค่า EER | 10 BTU/Hr/W |
2.3 | ใช้กำลังไฟฟ้ารวม (2.1)/(2.2) | 9,900 W |
2.4 | เปิดใช้งาน 24 Hr/Day = (2.3)x24/1000 | 237.6 kWH/Day |
3 | ค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศใหม่ | |
3.1 | 36,000 BTU/Hr x 3 set | 108,000 BTU/Hr |
3.2 | เครื่องใหม่ DC Inverter ค่า SEER | 19.25 BTU/WH |
3.3 | ใช้กำลังไฟฟ้ารวม (3.1)/(3.2) | 5,610.39 W |
3.4 | เปิดใช้งาน 24 Hr/Day = (3.3)x24/1000 | 134.65 kWH/Day |
4 | พลังงานที่ได้จากระบบ Solar | |
4.1 | จำนวนแผงที่ใช้/เครื่อง | 5 แผง |
4.2 | กำลังไฟฟ้า/แผง | 550 W |
4.3 | จำนวนเครื่อง | 3 Set |
4.4 | รวมกำลังไฟฟ้าจากแผง (4.1) x (4.2) x (4.3) | 8,250 W |
4.5 | เฉลี่ยใน 1วัน มีชั่วโมงมี่จ่ายไฟได้เต็มที่ | 4.53 hr/Day |
4.6 | พลังงานที่จ่ายได้ต่อวัน (4.4) x (4.5)/1000 | 37.37 kWh/Day |
5 | ค่าไฟที่ประหยัดได้เมื่อเปลี่ยนไปใช้ Solar Air | |
5.1 | (2.4)-((3.4) -(4.6)) | 140.32 kWh/Day |
5.2 | ใน 1 ปี ประหยัดได้ (5.1) x 365 | 51,217.95 kWh/Year |
5.3 | ค่ากระแสไฟฟ้าเฉลี่ย (TOU 24 Hr) | 4.325 B./kWh |
5.4 | คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ใน 1 ปี (5.2) x (5.3) | 221,517.63 B./Year |
6 | ระยะเวลาคุ้มทุน (1)/(5.4) | 2.57 ปี |
หากเป็นบ้านพักอาศัย และการปีนขึ้นไปเพื่อล้างที่ไม่สูงเกินไป หรือไม่เสี่ยงต่ออันตราย ก็สามารถขึ้นไปล้างได้เอง โดยความยาวสายยางฉีดล้างต้องยาวพอเพื่อจะได้ล้างได้ทั่วถึง ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดประเภทกัดกร่อน ให้ใช้น้ำยาล้างกระจก หมั่นสังเกตุหากมีคราบขี้นก หรือคราบสกปรกฝังแน่น อาจทำให้เกิด Hot Spot หากทิ้งไว้นานๆอาจเกิดไฟไหม้แผง โดยเฉพาะแผงคุณภาพต่ำหรือแผงที่ไม่ได้ผ่านการตรวจทดสอบปฎิกิริยาต่อไฟ(UNI9177) ขณะล้างให้สังเกตุรอยแตกบนแผงมีหรือไม่ กรณีนี้ต้องแจ้งบริษัทติดตั้ง หรือบริษัทที่รับบำรุงรักษาระบบSolar เข้ามาดูแล
เลือกเวลาล้างแผงได้ ควรเป็นเวลาเช้า แดดยังไม่ร้อน หรือเวลาเย็น จะทำให้คราบสกปรกล้างออกง่ายกว่า เพราะถ้าร้อนมากน้ำที่ฉีดล้าง ก็จะแห้งเร็วทั้งที่คราบก็ยังติดฝังอยู่
สำหรับภาคอุตสาหกรรม จะมีการติดแผงจำนวนมากหน่อย ควรใช้บริการล้างแผงจากผู้ชำนาญจะดีกว่า เพราะจะได้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ และเช็คค่าความร้อนกรณีมีจุดผิดปกติ สำหรับภาคอุตสาหกรรมควรล้างแผงเฉลี่ยซัก 2 ครั้งต่อปี
การรับประกันแผงจากผู้ผลิตไม่รับประกันความเสียหายจากการแตก หรือการเกิด hot spot จากการละเลยการบำรุงรักษา
การติดตั้ง ทั้งระบบ Solar Air และ Solar Rooftop มีความเสี่ยงที่เกิดอัคคีภัยจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน การติดตั้งไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือใหญ่ มาตรฐานความปลอดภัยต้องมีเหมือนกันทุกประการ จำเป็นต้องมี Protection ระบบ Ground แยกระหว่างของอาคารและระบบแผง, Surge Protection ป้องกันไฟกระชาก, ระบบ DC,AC Breaker, Fuseช่วยตัดกระแสเกิน
โปรดสอบถามผู้ติดตั้งเรื่องระบบ Protection ว่ามีระบบป้องกันเหล่านี้ครบถ้วนมั้ย
แนะนำให้ติดเป็นระบบ Solar Rooftop หรือที่เรียกว่า ระบบ Ongrid มีระบบ Inverter ทำการแปลงไฟจาก DC เป็น AC ซึ่งจะต้องขออนุญาติขนานไฟกับการไฟฟ้า แต่พลังงานที่ผลิตได้ จะจ่ายไฟไปทุกอุปกรณ์ที่เปิดใช้ในขณะนั้น ไม่เหมือน SOLAR AIR ที่ชุดแผงจะจ่ายเฉพาะแอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่งเท่านั้น